บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด

ที่อยู่ 43 ถ. สาทรใต้ แขวง ยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร 10120

มือถือ: 094 864 9799
มือถือ: 084 360 4656

LINE ID: @greenproksp
E-mail: info.th@greenproksp.com

จดทะเบียนบริษัทเพชรบุรี

ข้อมูลที่ใช้ในการจดทะเบียนบริษัทเพชรบุรี – เมื่อผู้ประกอบการวางแผนที่จะทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลที่เพชรบุรี จำเป็นต้องทราบข้อมูลและเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนบริษัท

จดทะเบียนบริษัท

จดทะเบียนบริษัท คือ การจัดตั้งบริษัทจำกัดโดยมีบุคคลตั้งแต่ 3 ท่านขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจในรูปแบบเดียวกันและหวังผลกำไรที่ได้จากธุรกิจที่ก่อตั้งขึ้น เงินที่นำมาลงในกิจการจะแบ่งออกเป็นสัดส่วนเท่ากับเงินที่ได้ลงมา รายละเอียดการจดบริษัทนั้นมีขั้นตอนต่างๆ มากมาย บทความนี้จะอธิบายเจาะลึกถึงขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท และรายละเอียดที่น่าสนใจ ครบจบในบทความเดียว

1. ชื่อบริษัท

ชื่อของบริษัท – ผู้ประกอบการต้องคิดชื่อของบริษัทที่จะจดทะเบียนโดยชื่อบริษัทต้องมีชื่อทั้งภาษาไทย และอังกฤษ หลังจากนั้นทำการจองชื่อกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในระบบออนไลน์ โดยถ้าหากว่าชื่อที่ผู้ประกอบการส่งมาให้จองนั้นไปซ้ำกับชื่อของบริษัทอื่นที่จดทะเบียนบริษัทไปแล้ว ทางระบบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็จะไม่อนุมัติ (ต้องคิดชื่อขึ้นมาใหม่) อาจคิดชื่อสำรองไว้สัก 2-3 ชื่อก็ได้

2. ที่ตั้งบริษัท

ในการจดทะเบียนบริษัทเพชรบุรีนั้น ต้องมีสถานที่ตั้งเพื่อจดทะเบียนกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า บริษัทที่จะจดทะเบียนอาจจะมีสถานที่ตั้งที่เดียวที่เป็นสำนักงานใหญ่ หรืออาจมีสำนักงานสาขาด้วยก็ได้ ซึ่งถ้ามีสำนักงานสาขาก็ต้องแจ้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าตอนจดทะเบียนบริษัท โดยในการดำเนินการจดทะเบียนบริษัท ต้องมีสำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งกิจการ ทั้งสำนักงานใหญ่ สำนักงานสาขา

3. อีเมล์ เบอร์โทรศัพท์ และเว็บไซต์

ในการจดทะเบียนบริษัทเพชรบุรี จำเป็นต้องมีอีเมล์แอดเดรส และเบอร์โทรศัพท์ของบริษัท (ในกรณีที่ไม่มีเบอร์บ้าน สามารถใช้เบอร์มือถือแทนได้) ส่วนเว็บไซต์ของบริษัทที่จะจดทะเบียน ถ้าผู้ประกอบการมีเว็บไซต์ก็แจ้ง URL ของ เว็บไซต์ ยกตัวอย่างเช่น www.greenprokspregister.com แต่ถ้าผู้ประกอบการไม่มีเว็บไซต์ ก็ไม่เป็นไรกฏหมายไม่ได้บังคับว่าต้องมี

4. ทุนจดทะเบียนบริษัทเพชรบุรี

ทุนจดทะเบียนก็คือทุนของกิจการที่จะจดทะเบียนบริษัทมาเพื่อดำเนินธุรกิจ โดยผู้ประกอบการต้องประมาณการว่าในการดำเนินธุรกิจที่จะจดทะเบียนบริษัทจำกัดขึ้นมานั้นต้องการใช้เงินทุนเท่าไร ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบการที่จดทะเบียนบริษัท จะจดทะเบียนบริษัทที่ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เพื่อต้องการความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทตนเอง

5. เรียกชำระทุนครั้งแรก

ในตอนจดทะเบียนบริษัทต้องกำหนดทุนที่จะชำระครั้งแรก กฏหมายกำหนดขั้นต่ำไว้ที่ 25% หรือผู้ประกอบการจะชำระมากกว่า 25% หรือ 100% ก็ได้ ทีนี้ผู้ประกอบการอาจสงสัยการชำระทุนคืออะไร ยกตัวอย่างเช่นผู้ประกอบการกำหนดทุนจดทะเบียนของบริษัทที่ 1 ล้านบาท ถ้าผู้ประกอบการระบุว่าต้องการชำระทุนที่ 25% เพราะฉะนั้น 25% ของทุนจดทะเบียนก็คือ 250,000 บาท ดังนั้นเมื่อจัดตั้งบริษัทจำกัดขึ้นมาแล้ว ผู้ประกอบการต้องไปเปิดบัญชีธนาคารของบริษัท และนำเงินทุนฝากเข้าบัญชีธนาคารของบริษัท
โดยเงินทุนในบัญชีธนาคารนี้คือทุนที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทสามารถเบิกถอนมาเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการบริษัทที่จดทะเบียนได้ ยกตัวอย่างเช่น ค่าเช่าออฟฟิศ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เงินดือน พนักงาน ค่าซื้อสินค้าเพื่อจำหน่าย หรือแม้กระทั่งค่าเดินทางในธุรกิจของบริษัท โดยค่าใช้จ่ายบริษัทต่างนั้นนี้ต้องมีใบเสร็จเป็นชื่อบริษัทมาใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี เมื่อมีการจ่ายค่าใช้จ่ายออกไป

6. ข้อมูลของผู้ก่อการอย่างน้อย 3 ท่าน

ในการจดทะเบียนบริษัทเพชรบุรี กฏหมายกำหนดไว้ว่าต้องมีผู้ก่อการนั่นก็คือผู้ถือหุ้นของบริษัทอย่างน้อย 3 คนจึงจะจดทะเบียนบริษัทได้ ซึ่งข้อมูลของผู้ก่อการหรือผู้ถือหุ้นของบริษัท จะประกอบไปด้วย
– ชี่อ-นามสกุลของผู้ถือหุ้น
– อาชีพของผู้ถือหุ้น
– เบอร์โทรของผู้ถือหุ้น
– จำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนถือในบริษัท

7. รายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนามบริษัท

ในการจดทะเบียนบริษัทจำกัด กฏหมายกำหนดไว้ว่าต้องมีกรรมการอย่างน้อย 1 ท่าน นั่นคือจะมี 1 ท่าน หรือ 2 ท่าน หรือ 3 ท่าน หรือมากกว่าก็ได้ ซึ่งกรรมการจะเป็นตัวแทนในการบริหารกิจการของบริษัท และมีอำนาจในการลงนามในธุรกรรมซึ่งมีผลผูกพันทางกฏหมายกับบริษัทที่จะจดทะเบียนจัดตั้ง
เมื่อกล่าวถึงกรรมการแล้วทีนี้เราจะมากล่าวถึงเงื่อนไขการลงนามของกรรมการ ในการจดทะเบียนบริษัทจำกัด ผู้ประกอบการสามารถกำหนดเงื่อนไขการลงนามกรรมการได้หลายรูปแบบ ตามที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จะจดทะเบียนตกลงกัน

8. วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัท

ผู้ประกอบการต้องคิดว่าจุดประสงค์ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเพชรบุรีนี้ มีจุดประสงค์เพื่อทำธุรกิจอะไร ผู้ประกอบการก็สามารถเขียนวัตถุประสงค์ที่ต้องการทำได้เลย โดยบริษัทที่จะจดทะเบียนสามารถดำเนินธุรกิจได้หลายวัตถุประสงค์ เบื้องต้นทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้านั้นมีวัตถุประสงค์มาตรฐานอยู่แล้ว คือ แบบ ว.1 เป็นธุรกิจ พาณิชยกรรม แบบ ว.2 เป็นธุรกิจบริการ ซึ่งทางบริษัทรับจดทะเบียนจะเลือกแบบวัตถุประสงค์มาตรฐานที่ตรงกับธุรกิจลูกค้ามากที่สุด แต่ถ้าผู้ประกอบการทำด้วยตัวเองต้องอ่าน แบบ ว. เพื่อเลือกอีกที

พื้นที่ในเพชรบุรี

ชะอำ, ดอนขุนห้วย, นายาง, บางเก่า, สามพระยา, หนองศาลา, ห้วยทรายเหนือ, เขาใหญ่, ไร่ใหม่พัฒนา, กลัดหลวง, ท่าคอย, ท่ายาง, ท่าแลง, ท่าไม้รวก, บ้านในดง, ปึกเตียน, มาบปลาเค้า, ยางหย่อง, วังไคร้, หนองจอก, เขากระปุก, ตำหรุ, ถ้ำรงค์, ท่าช้าง, ท่าเสน, บ้านทาน, บ้านลาด, บ้านหาด, ลาดโพธิ์, สมอพลือ, สะพานไกร, หนองกระเจ็ด, หนองกะปุ, ห้วยข้อง, ห้วยลึก, โรงเข้, ไร่มะขาม, ไร่สะท้อน, ไร่โคก, ท่าแร้ง, ท่าแร้งออก, บางขุนไทร, บางครก, บางตะบูน, บางตะบูนออก, บางแก้ว, บ้านแหลม, ปากทะเล, แหลมผักเบี้ย, ท่าตะคร้อ, ยางน้ำกลัดเหนือ, ยางน้ำกลัดใต้, หนองหญ้าปล้อง, ทับคาง, บางเค็ม, สระพัง, หนองชุมพล, หนองชุมพลเหนือ, หนองปรง, หนองปลาไหล, ห้วยท่าช้าง, ห้วยโรง, เขาย้อย, คลองกระแซง, ช่องสะแก, ดอนยาง, ต้นมะพร้าว, ต้นมะม่วง, ท่าราบ, ธงชัย, นาพันสาม, นาวุ้ง, บางจาก, บางจาน, บ้านกุ่ม, บ้านหม้อ, วังตะโก, สำมะโรง, หนองขนาน, หนองพลับ, หนองโสน, หัวสะพาน, หาดเจ้าสำราญ, เวียงคอย, โพพระ, โพไร่หวาน, ไร่ส้ม, ป่าเด็ง, พุสวรรค์, วังจันทร์, สองพี่น้อง, ห้วยแม่เพรียง, แก่งกระจาน

ให้คะแนนบทความนี้ post